วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หมวด 2 การแสดงเจตนา

ลักษณะของนิติกรรม

สัญญาขายฝาก
ผู้ขายฝากต้องการเงิน ผู้ซื้อฝากเป็นใคร ไม่ใช่สาระสำคัญ
ผู้ขายฝากสำคัญผิดในตัวผู้ซื้อฝาก ไม่เป็นโมฆะ

1245/2529

ทรัพย์สินในวัตถุของนิติกรรม

การยกที่ดินส่วนที่ไม่มีเจตนายกให้เป็นโมฆะตามม.156
ส่วนที่เจตนายกให้สมบูรณ์บังคับได้

6103/2545
ราคาทรัพย์ตามสัญญาซื้อขาย สำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุของนิติกรรม


การถูกหลอกเป็นการสำคัญผิดทุกกรณีและเป็นกลฉ้อฉล
แต่การสำคัญผิดไม่จำต้องเกิดถูกกลฉ้อฉลเสมอไป

สำคัญผิดในสาระสำคัญ 156
สำคัญผิดในคุณสมบัติ 157
การถูกหลอกเป็นกลฉ้อฉล 159

ค่าเช่าตามสัญญาเช่า เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า (458/2498)
ผู้รับประกันภัยสนองรับคำเสนอหลังจากที่ผู้เอาประกันชีวิตตายไปแล้วโดยสำคัญผิดว่าเขามีชีวิตอยู่
เป็นโมฆะ

157
สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
คุณสมบัติต้องเกี่ยวกับหน้าที่หรือการชำระหนี้ในนิติกรรมนั้น


จ้างคนมาสร้างบ้าน ความรู้เรื่องการก่อสร้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อสร้าง

หนี้ คือ การกระทำการ งดเว้น ส่งมอบ
คนที่ต้องกระทำการ งดเว้น ส่งมอบ เป็นลูกหนี้
คนที่มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำ งดเว้น ส่งมอบ เป็นเจ้าหนี้

วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่ลูกหนี้ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้

ม.194
วัตถุแห่งหนี้ คือ
1.กระทำการ
2.งดเว้นกระทำการ
3.ส่งมอบทรัพย์สิน ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

การเช่าซื้อรถยนตร์ที่มีการปลอมหมายเลขเครื่องที่ไม่ตรงกับใบอนุญาต
ถือเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
ผู้เช่าซื้อถึงอย่างไรก็ต้องการเช่า เป็นคันเดีวยกันกับที่ตกลงทำสัญญา
กรณีมิใช่เป็นการสำคัญผิดในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ไม่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
ใบอนุญาตกับสัญญาเช่าซื้อ เลขเครื่องไม่ตรงกัน
ถือเป็นโมฆียะ (568/2541)

ซื้อที่ดินโดยไม่รู้ว่าที่ดินจะถูกเวนคืน เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติ โมฆียะ (2471/2541)
ซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานโดยไม่รู้ว่าอยู่ในเขตจำกัดก่อสร้าง เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
2349/2531


กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญหรือคุณสมบัติของทรัพย์สินหรือบุคคล
- ฐานะทางกฎหมายของบุคคล 2259/2526 เป็นการสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของบุคคลเท่านั้น หาใช่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติถือเป็นสาระสำคัญไม่
- ฐานะทางกฎหมายของบุคคลไม่ใช่คุณสมบัติซึ่งตามปกติถือเป็นสาระสำคัญ

กลฉ้อฉล คือ การหลอกลวงให้ทำสัญญา
การฉ้อฉล ม.237

กลฉ้อฉล = คู่กรณี หลอกลวง,บุคคลภายนอก หลอกลวง,นิ่งในสิ่งที่เป็นนิติกรรม2ฝ่าย ม.162

ม.159
ม.162
ข้อยกเว้น ตาม ม.161 กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ถึงถูกหลอกอย่างไรเขาก็จะทำนิติกรรมด้วย ทำให้เขาต้องรับภาระหน้าที่ๆหนัก
ม.163 ทั้ง2ฝ่ายต่างหลอกลวงซึ่งกันและกัน
ม.160 ไม่ได้บอกว่าบุคคลภายนอกจะต้องเสียค่าตอบแทนหรือไม่ ต่างกับ ปพพ.ม.1329

ถ้านิติกรรมที่เป็นโมฆียะมีหลายเหตุ เช่น
สำคัญผิด,ถูกข่มขู่ ปรับ ม.1329
ถูกกลฉ้อฉล ปรับ ม.160
ม.1329 สุจริต+เสียค่าตอบแทน
ม.160 สุจริตอย่างเดียว

สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม ปรับ ม.156

6103/2545
ราคาทรัพย์ตามสัญญาซื้อขาย

7772/2546
เพียงแต่บุคคลภายนอกสุจริตก็ได้รับความคุ้มครองแม้ไม่ได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

ม.160 ดูสุจริตเท่านั้น

1522/2546
ปรับทั้ง ม.160,ม.1329

โมฆียะที่ไม่ใช่กลฉ้อฉล ใช้ ม.1329 อย่างเดียว

ม.161
กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ
แสดงเจตนาไม่ตรงกับเจตนาในใจที่แท้จริง

4045/2534
หลอกให้ผู้ซื้อๆสินค้าราคาแพง แม้ผู้ซื้อรู้แล้วก็จะซื้อ ผู้ซื้อก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน

ม.162
กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง
ต้องเป็นการนิ่งที่คู่กรณีฝ่ายนั้นมีหน้าที่ๆต้องบอกความจริงด้วย หน้าที่นั้นอาจเป็น
หน้าที่ตามกฏหมาย
หน้าที่ตามประเพณี
ต้องเป็นเรื่องการทำนิติกรรม2ฝ่าย เช่น สัญญาประกันชีวิต ม.865

63/2544
การที่ที่ดินซึ่งถูกกำจัดสิทธิหรือถูกเวนคืน ผู้ขายรู้แต่ไม่แต้งให้ผู้ซื้อทราบ
เป็นการจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงอันเป็นกลฉ้อฉล
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรม2ฝ่าย
การที่ปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องการเวนคืนที่ดืน ล้วนแต่เป็นกลฉ้อฉลของจำเลย
159+162
เวลาตอบ162ต้องเอา159มาประกอบด้วย

เช่นปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องการถูกเวนคืน
หรือถูกกำจัดสิทธิการก่อสร้างอาคารสูง


การที่ที่ดินพิพาทจะมีถนนตัดผ่าน

หรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องบอกผู้ขาย


การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ม.164-166
หลักเกณฑ์
1.ต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง
= ภัยจะในขณะนั้นหรือในอนาคตอันใกล้
2.ต้องร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว
= การข่มขู่นั้นเป็นเหตุให้ผู้ทำนิติกรรมมีสิทธิเลือก2ประการ
2.1 เลือกรับภัยตามที่ข่มขู่
2.2 เลือกทำตามนิติกรรม
3.ถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
ผล คือ โมฆียะ


ม.165 ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการข่มขู่
1.การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม (สิทธินั้นต้องเป็นสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น หนั้ค่าใช้กระแสไฟฟ้า 2103/2545)
2.การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง
ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่






หมวด 3 โมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม

โมฆะกรรม
172+ลาภมิควรได้

โมฆียะกรรม สมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง
175-181

บอกล้างกลับคืนฐานะเดิม 176
ให้สัตยาบัน สมบูรณ์
อาจฟ้องบังคับชำระหนั้โดยเฉพาะเจาะจง ม.213
อาจใช้สิทธิเลิกสัญญา ม.386-391
ม.391 มีถ้อยคำว่า กลับคืนสู่ฐานะเดิม ทำนองเดียวกับ ม.176

โมฆะ
ผลประการแรก คือ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ไม่มีผลทางกฎหมายเลย
การที่มีการชำระหนี้ ฝ่ายที่รับชำระหนี้ไว้จึงเป็นการได้รับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎมายได้
นำหลักลาภมิควรได้มาใช้

โมฆียะกรรม
สมบูรณ์จนกว่าจะบอกล้าง
บอกล้าง=โมฆะมาแต่เริ่มแรก
ในขณะที่ยังไม่ได้บอกล้าง นิติกรรมสมบูรณ์ เมื่อมีการชำระหนี้ ฝ่ายที่ได้รับชำระหนี้จึงเป็นการได้รับโดยมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้
เมื่อบอกล้างแล้ว จึงไม่นำหลักลาภมิควรได้มาใช้ กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ม.176 เพราะในขณะที่รับชำระหนี้เป็นการรับไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
(ม.406 โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้)

ม.176 ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
= จุดที่ต้องดู ม.159+1329
ก่อนมีการบอกล้างคนที่ได้รับทรัพย์สินโอนทรัพย์สินไปให้บุคคลภายนอก บุคคลภายนอกได้รับการคุ้มครอง จะให้คู่กรณีคืนทรัพย์ คืนไม่ได้
ให้ฝ่ายที่คืนไม่ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แทน
หรืออาจเป็นการตัวทรัพย์พ้นวิสัย

ม.176
1.ให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ได้เงินคืนเงิน ได้ทรัพย์คืนทรัพย์
2.ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน เกิดได้2กรณี
2.1 ม.160,ม.1329
2.2 พ้นวิสัยโดยสภาพ

ม.172
ก็ได้ = ไม่มีอายุความ
172 โยง สิทธิติตามเอาคืนทรัพย์ ม.419
กล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้แต่ติด419 สิทธิติดตามเอาคืน อ้าง ม.1336ไม่ได้
ม.1336 อำนาจเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีสิทธิติดตามเอาคืนได้โดยไม่มีอายุความ
ม.1336 ต้องอยู่ใต้บังคับกฎหมายนี้ด้วย

ม.172
หลัก
1.ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้
2.ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้ไม่จำกัดเวลา
(2041/2547,5738-5739/2545)
3.ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ

ผู้มีส่วนได้เสีย = ไม่จำต้องเป็นคู่กรณี เป็นผู้สืบสิทธิ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันของคู่กรณี(3072/2536)
ลาภมิควรได้
หลัก ม.406 ต้องคืน
ข้อยกเว้น ม.407 อำเภอใจ คือ ชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระ
เช่น การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ลูกหนี้รู้ไปชำระ เรียกดอกเบี้นคืนไม่ได้ เอาดอกเบี้ยไปตัดกับต้นเงินไม่ได้ ต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนแล้วถ้าเงินต้นผิดนัดเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยร้อยละ7.5จามม.224ได้ด้วย
เพราะเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ
ดอกเบี้ยเป็นโมฆะตามม.150 ต้นเงินสมบูรณ์ม.173
โมฆะ ปรับ ม.172ว2 โยง ม.407+ม.411
172/2546 เรียกได้
ไม่ทราบ ไม่ใช่เป็นการที่กระทำการตามอำเภอใจ เสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ

ข้อยกเว้นประการที่2
ม.410 การชำระหนี้โดยมุ่งต่อผลซึ่งรู้ว่าเป็นพ้นวิสัย
ข้อยกเว้นข้อที่3
ม.411 การชำระหนี้โดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี

ม.175 ผู้จัดการมรดกของผู้ทำนิติกรรม แม้ไม่ใช่บุคคลตาม ม175 ก็มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้ เพระเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ที่ต้องนำทรัพย์สินมาแบ่งแก่ทายาท ตาม ม.1719(3146/2532)
3146/2532
ม.1711
ม.1713
ม.1719
เจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ม.1713
เจ้าหนี้ไม่ใช่บุคคลตาม ม.175
ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งเป็นบุคคลที่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเช่นเดียวกัน ไม่เข้า ม.175 โดยตรง

ม.176 ผลการบอกล้างโมฆียะกรรม มี 3อย่าง
1.โมฆะมาแต่เริ่มแรก
2.คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
3.ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
โมฆียะกรรม โยฝ ลาภมิควรได้
1376 โยงไปที่ ลาภมิควรได้ ได้บางมาตรา

176
การกลับคืนสู่ฐานะเดิมที่เป็นการคืนทรัพย์ อยู่ในบังคับ ม.1376
นำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้
1376 นำ ม.415-418 มาใช้
โมฆียะกรรม ใช้ม.176+ม.1376+ลาภมิควรได้
ต่างกับ โมฑะ ตรงที่โมฆะ ม.172ว2 ไปที่ ลาภมิควรได้ๆโดยตรง

ม.176 = คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมทุกกรณี
ลาภมิควรได้ = การที่ให้คืนทรัพยืใช้หลักสุจริต
จึงไม่นำลาภมิควรได้มาใช้ทุกมาตรา มาตราที่นำมาใช้ได้ คือ ม.415-418 เรื่องอื่นไม่นำมาใช้
ถ้าเป็นการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะจะบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ ใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่ได้
8429/2538
การใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายได้นั้น
ต้องเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงตาม ม.213
หรือการใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ม.391 เท่านั้น
เมื่อใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ กฎหมายให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก
จึงไม่ใช่การฟ้องบังคับให้ชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงหรือใช้สิทธิเลิกสัญญา

ม.391 การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่
ม.222
ม.223

8429/2538
ม.176
กลับคืนฐานะเดิม เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ได้เงินคืนเงิน ได้ทรัพย์คืนทรัพย์
1.ทรัพย์พ้นวิสัย หรือ
2.มีบุคคลภายนอกเข้าทาเกี่ยวข้องบุคคลภายนอกได้รับความคุ้มตรองตาม ม.160,ม.1329
1950/2518บุคคลภายนอกได้รับทรัพนย์ภายหลังการบอกล้าง เป้นโมฆะมาแต่เริ่มแรกแม้ยังไม่มีการแก้ไขชื่อ บุคคล
ภายนอกอ้างความสุจริตไม่ได้
การให้สัตยาบันตาม ม177

โมฆะกรรม
1.เป็นการเสียเปล่า ไม่ผูกพันคู่กรณี
2.ให้สัตยาบันไม่ได้เพราะเสียเปล่า
3.บอกล้างไม่ได้เพราะเสียเปล่าไปแล้ว
4.ผุ้มีส่วนได้เสีย (ม.172) มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างได้
5.ไม่มีกำหนดเวลากล่าวอ้าง
6.การกลับคืนใช้หลักลาภมิควรได้

โมฆียะกรรม
1.เป็นการสมบูรณ์อยู่ ผูกพันคู่กรณีจนกว่าจะถูกบอกล้าง
2.ให้สัตยาบันเพื่อให้สมบูรณ์ตลอดไปได้
3.บอกล้างเพื่อให้เป็นโมฆะได้
4.บุคคลตาม ม.175 มีสิทธิบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้
5.มีกำหนดเวลาบอกล้างตาม ม.181
6. ไม่ใช้หลักลาภมิควรได้

เงื่อนไข ม182-190

เงื่อนเวลา ม.191-193

มาตรา 182 ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข

ม.183 2 ประเภท ม.183 โยง ม.371 โยง ม.219

1.เงื่อนไขบังคับก่อน

2.เงื่อนไขบังคับหลัง

คู่กรณี ต้องตกลงทุกฝ่าย

มีผล 2 ประดาร

1.ดอกผลของทรัพย์เป็นของใคร

2.และ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นฝ่ายใดเป็นผู้รับภัย

สัญญาซื้อขาย เป็นสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดหนี้แก่คู่สัญญาทั้ง2ฝ่าย

หนี้ของผู้ขาย คือ ส่งมอบ

หนี้ของผู้ซื้อ คือ ชำระราคา

ตัวอย่าง ม.183ว3ประกอบม.219,ม370,ม371

ก ตกลงซื้อรถของ ข ในขณะทำสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิในรถโอนไปยัง ก แล้วตาม ม.458

แม้ยังไม่มีการส่งมอบ หรือ ชำระราคาก็ตาม

รถสูญหายโดยโทษใครไม่ได้

1.1 ข หลุดพ้นการชำระหนี้ตาม ม.219 ไม่ต้องส่งมอบรถ

1.2 แต่การสูญหรือเสียหายนั้น ตกเป็นพับแก่ ก เจ้าหนี้ ตาม ม.370 หมายความว่า ไม่ได้ทรัพย์แต่มีหน้าที่ชำระราคา

ม.371เป็นข้อยกเว้นของ ม.370

ม.370 เป็นหลัก

ม.371 เป็นข้อยกเว้น

2.ถ้าสัญญาระหว่าง ก กับ ข มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์และรถยนตร์สูญหายโดยโทษใครไม่ได้ ในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ

2.1 ม.371 ข ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ม219

2.2 แต่การสูญหรือเยหายนั้นตดเป็นพับแก่ ข เจ้าของกรรมสิทธิ์รับภัย จะเรียกให้ ก ขำระราคาไม่ได้

3. หาก ก และ ข ตกลงให้ความสำเร็จของเงื่อนไขมีผลย้อนหลังไปถึงวันใด ต้องบัคับ ตาม ม.183ว3

3.1 หากภัยพิบัติเกิดขึ้น หลังจากวันที่ๆกำหนด รถเป็นของ ก เจ้าหนี้แล้ว ก เป็นผู้รับภัย

3.2 ถ้าภัยพิบัตืเกิดขึ้นก่อนวันที่ๆถึงกำหนด ข เป็นผู้รับภัย

เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ดูที่ วัตถุแห่งหนี้ มี3อย่าง กระทำการ งดเว้นกระทำการ ส่งมอบทรัพย์สิน

คนที่มืสิทธิเรียกร้อง เป็นเจ้าหนี้

คนที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสิทธิเรียกร้อง เป็น ลูกหนี้

สัญญาต่างตอบแทนต่างฝ่ายต่างเป็น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ซึ่งกันและกัน

ดูม.182,183

ม.191

ความต่าง,ความเหมือน

เงื่อนไขบังคับก่อนสัญญายังไม่เกิด

เงื่อนเวลาเริ่มต้น สัญญาเกิดแล้วเพียงแต่เจ้าหนี้จะทวงถามให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดไม่ได้

เงื่อนเวลาสิ้นสุด คล้าย เงื่อนไขบังคับหลัง

ม.192

ให้สันนิษฐาน

ม.193ว1 เงื่อนเวลาเริ่มต้น ห้ามมิให้ปฎิบัติการทวงถามก่อนถึงเวลาที่กำหนด

ม.193 ลูกหนี้จะถือประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นไม่ได้

1.กรณีลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามกม.ล้มละลาย โยงไป การขอรับชำระหนี้คดีล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ม.94พรบ.ล้มละลาย ให้เจ้าหนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีล้มละลาย

ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามม.14 เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตาม ม.27+ม.91(พรบ.ล้มละลาย)

มาตรา 193 ในกรณีดังต่อไปนี้ ฝ่ายลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดมิได้
(1) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

เจ้าหนี้ต้องไปขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายใน 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ถ้าไม่ขอก็ไม่ได้รับชำระ ตาม พรบ.ล้มละลาย ม.27+ม.91+ม.94
(2) ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้

ลูกหนี้ตกลงว่าจะให้ประกันเมื่อถึงกำหนดแล้วไม่เอาหลักทรัพย์มาประกัน
(3) ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้

3.1เดิม ลูกหนี้ให้ประกันแก่เจ้าหนี้ ต่อมาจึงมีเหตุเกิดขึ้นตาม ม.193(3)

3.2ประกันอันได้ให้ไว้ ต้องเข้าลักษณะ จำนองหรือจำนำ

ถ้าไม่ใช่ จำนอง หรือ จำนำ เช่น นำนส3,โฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ไม่ใช่ประกันตามกฎหมาย
(4) ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยินยอมด้วย

เอาทรัพย์ของบุคคลอื่นไปเป็นประกัน สัญญานั้นไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ ดูม.705+747ประกอบ


แม้ไม่เข้า ม.193 แต่ถ้าเข้า2เหตุนี้ เจ้าหนี้ก็ฟ้องหรือเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ได้

เหตุอื่นที่ลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์ไม่ได้ตามแนวฎีกา

1.ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย(1413/2479,94/2493)

2.ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ ถือว่าลูกหนี้กระทำการไม่สุจริต(804/2493,1314/2514)

ดู ม.182,183ว3+371+148,191,193

สัญญา

1.บุคคล2ฝ่ายขึ้นไป

2.มีการแสดงเจตนาเป็นคำเสนอ คำสนองตรงกัน

3.ต้องมีวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญา

คำเสนอ

1.เป็นิติกรรมฝ่ายเดียวซึ่งต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา

คำสนอง