วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หมวด 2 การแสดงเจตนา

ลักษณะของนิติกรรม

สัญญาขายฝาก
ผู้ขายฝากต้องการเงิน ผู้ซื้อฝากเป็นใคร ไม่ใช่สาระสำคัญ
ผู้ขายฝากสำคัญผิดในตัวผู้ซื้อฝาก ไม่เป็นโมฆะ

1245/2529

ทรัพย์สินในวัตถุของนิติกรรม

การยกที่ดินส่วนที่ไม่มีเจตนายกให้เป็นโมฆะตามม.156
ส่วนที่เจตนายกให้สมบูรณ์บังคับได้

6103/2545
ราคาทรัพย์ตามสัญญาซื้อขาย สำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุของนิติกรรม


การถูกหลอกเป็นการสำคัญผิดทุกกรณีและเป็นกลฉ้อฉล
แต่การสำคัญผิดไม่จำต้องเกิดถูกกลฉ้อฉลเสมอไป

สำคัญผิดในสาระสำคัญ 156
สำคัญผิดในคุณสมบัติ 157
การถูกหลอกเป็นกลฉ้อฉล 159

ค่าเช่าตามสัญญาเช่า เป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า (458/2498)
ผู้รับประกันภัยสนองรับคำเสนอหลังจากที่ผู้เอาประกันชีวิตตายไปแล้วโดยสำคัญผิดว่าเขามีชีวิตอยู่
เป็นโมฆะ

157
สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
คุณสมบัติต้องเกี่ยวกับหน้าที่หรือการชำระหนี้ในนิติกรรมนั้น


จ้างคนมาสร้างบ้าน ความรู้เรื่องการก่อสร้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อสร้าง

หนี้ คือ การกระทำการ งดเว้น ส่งมอบ
คนที่ต้องกระทำการ งดเว้น ส่งมอบ เป็นลูกหนี้
คนที่มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำ งดเว้น ส่งมอบ เป็นเจ้าหนี้

วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่ลูกหนี้ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้

ม.194
วัตถุแห่งหนี้ คือ
1.กระทำการ
2.งดเว้นกระทำการ
3.ส่งมอบทรัพย์สิน ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

การเช่าซื้อรถยนตร์ที่มีการปลอมหมายเลขเครื่องที่ไม่ตรงกับใบอนุญาต
ถือเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
ผู้เช่าซื้อถึงอย่างไรก็ต้องการเช่า เป็นคันเดีวยกันกับที่ตกลงทำสัญญา
กรณีมิใช่เป็นการสำคัญผิดในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ไม่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
ใบอนุญาตกับสัญญาเช่าซื้อ เลขเครื่องไม่ตรงกัน
ถือเป็นโมฆียะ (568/2541)

ซื้อที่ดินโดยไม่รู้ว่าที่ดินจะถูกเวนคืน เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติ โมฆียะ (2471/2541)
ซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานโดยไม่รู้ว่าอยู่ในเขตจำกัดก่อสร้าง เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
2349/2531


กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญหรือคุณสมบัติของทรัพย์สินหรือบุคคล
- ฐานะทางกฎหมายของบุคคล 2259/2526 เป็นการสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของบุคคลเท่านั้น หาใช่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติถือเป็นสาระสำคัญไม่
- ฐานะทางกฎหมายของบุคคลไม่ใช่คุณสมบัติซึ่งตามปกติถือเป็นสาระสำคัญ

กลฉ้อฉล คือ การหลอกลวงให้ทำสัญญา
การฉ้อฉล ม.237

กลฉ้อฉล = คู่กรณี หลอกลวง,บุคคลภายนอก หลอกลวง,นิ่งในสิ่งที่เป็นนิติกรรม2ฝ่าย ม.162

ม.159
ม.162
ข้อยกเว้น ตาม ม.161 กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ ถึงถูกหลอกอย่างไรเขาก็จะทำนิติกรรมด้วย ทำให้เขาต้องรับภาระหน้าที่ๆหนัก
ม.163 ทั้ง2ฝ่ายต่างหลอกลวงซึ่งกันและกัน
ม.160 ไม่ได้บอกว่าบุคคลภายนอกจะต้องเสียค่าตอบแทนหรือไม่ ต่างกับ ปพพ.ม.1329

ถ้านิติกรรมที่เป็นโมฆียะมีหลายเหตุ เช่น
สำคัญผิด,ถูกข่มขู่ ปรับ ม.1329
ถูกกลฉ้อฉล ปรับ ม.160
ม.1329 สุจริต+เสียค่าตอบแทน
ม.160 สุจริตอย่างเดียว

สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม ปรับ ม.156

6103/2545
ราคาทรัพย์ตามสัญญาซื้อขาย

7772/2546
เพียงแต่บุคคลภายนอกสุจริตก็ได้รับความคุ้มครองแม้ไม่ได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

ม.160 ดูสุจริตเท่านั้น

1522/2546
ปรับทั้ง ม.160,ม.1329

โมฆียะที่ไม่ใช่กลฉ้อฉล ใช้ ม.1329 อย่างเดียว

ม.161
กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ
แสดงเจตนาไม่ตรงกับเจตนาในใจที่แท้จริง

4045/2534
หลอกให้ผู้ซื้อๆสินค้าราคาแพง แม้ผู้ซื้อรู้แล้วก็จะซื้อ ผู้ซื้อก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน

ม.162
กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง
ต้องเป็นการนิ่งที่คู่กรณีฝ่ายนั้นมีหน้าที่ๆต้องบอกความจริงด้วย หน้าที่นั้นอาจเป็น
หน้าที่ตามกฏหมาย
หน้าที่ตามประเพณี
ต้องเป็นเรื่องการทำนิติกรรม2ฝ่าย เช่น สัญญาประกันชีวิต ม.865

63/2544
การที่ที่ดินซึ่งถูกกำจัดสิทธิหรือถูกเวนคืน ผู้ขายรู้แต่ไม่แต้งให้ผู้ซื้อทราบ
เป็นการจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงอันเป็นกลฉ้อฉล
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรม2ฝ่าย
การที่ปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องการเวนคืนที่ดืน ล้วนแต่เป็นกลฉ้อฉลของจำเลย
159+162
เวลาตอบ162ต้องเอา159มาประกอบด้วย

เช่นปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องการถูกเวนคืน
หรือถูกกำจัดสิทธิการก่อสร้างอาคารสูง


การที่ที่ดินพิพาทจะมีถนนตัดผ่าน

หรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องบอกผู้ขาย


การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ ม.164-166
หลักเกณฑ์
1.ต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง
= ภัยจะในขณะนั้นหรือในอนาคตอันใกล้
2.ต้องร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัว
= การข่มขู่นั้นเป็นเหตุให้ผู้ทำนิติกรรมมีสิทธิเลือก2ประการ
2.1 เลือกรับภัยตามที่ข่มขู่
2.2 เลือกทำตามนิติกรรม
3.ถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
ผล คือ โมฆียะ


ม.165 ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการข่มขู่
1.การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม (สิทธินั้นต้องเป็นสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น หนั้ค่าใช้กระแสไฟฟ้า 2103/2545)
2.การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง
ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น